นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวถึงกรณีการจับตัวนายวีระชาติ รัศมี นายกเทศบาลตำบลตลุกดู่ ลูกเขยนายชาดา ไทยเศรษฐ์ รมช.มหาดไทย เรียกรับสินบนโครงการประปาหมู่บ้าน โดยเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันการเมืองท้องถิ่นมีงบประมาณลงไปเยอะ และเป็นตัวดึงดูดให้คนเข้าไปเล่นการเมืองท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อหวังผลประโยชน์ ในการสร้างอำนาจ จากการใช้งบประมาณนำมาสร้างเป็นผลงาน และพรรคพวกก็มักจะได้งาน เป็นเงินทอนกลับมาก แต่เชื่อว่ากรณีนี้น่าจะฮั้วกันไม่ติด จึงเกิดการฟันราคากันคำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่

 อดีตผู้ว่าฯ สตง. ชี้ช่องโหว่เอื้อ อปท.ทุจริต

รวบ “ลูกเขยชาดา” เรียกรับสินบนก่อสร้างประปาหมู่บ้าน

“ลูกเขยชาดา” รอดนอนคุก ยื่นหลักทรัพย์ 4 แสนประกันตัว

นายพิศิษฐ์ เล่าว่าจากประสบการณ์ทำงานตรวจสอบทุจริต แม้จะมีหลักเกณฑ์เงื่อนไขเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตฮั้วประมูล แต่ก็ต้องยอมรับว่า ก็ยังมีช่องทางเช่น การซอยงบประมาณ ให้อยู่ในวงเงิน ที่จะสามารถใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้การแข่งขันน้อย แม้จะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออุดช่องโหว่ อย่างวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบิดดิ้ง ที่มั่นใจว่าจะป้องกันการทุจริตได้ 100 เปอร์เซนต์ แต่กลับพบว่า มีข้อมูลรั่วไหล หรือมีการซื้อข้อมูลของบริษัทที่ร่วมประกวดราคา หรือในปัจจุบันที่มีการล็อคสเปคเรื่องนวัตกรรม เช่น อุปกรณ์ และวิธีการก่อสร้าง อ้างว่า เป็นนวัตกรรม ก็ถือเป็นการผูกขาด

ซึ่งกระบวนการฮั้วประมูลนั้น มักจะเริ่มตั้งแต่การตั้งงบประมาณ และการเขียน TOR ให้เอื้อประโยชน์กับผู้รับเหมา ซึ่งที่ผ่านมาที่เคยตรวจสอบในหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในโครงการที่พบการฮั้วประมูลมักจะพบการทอนเงินกลับไปยังหน่วยงานถึง 30 เปอร์เซนต์ หรือในบางโครงการก็สูงมากกว่า เพื่อให้ได้เงินทอนเยอะขึ้น เป็นแรงจูงใจระหว่างผู้รับเหมา และหน่วยงานในการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

ส่วนกรณีลูกเขยนายชาดา นายพิศิษฐ์ ไม่ได้ห่วงว่าหลักฐานจะสาวไปถึงหรือไม่ เพราะเรื่องการทุจริตนั้น ตบมือข้างเดียวแล้วจะดังได้ ต้องอาศัยหลายฝ่ายร่วมกัน โดยเจ้าหน้าที่เรียกว่า ถ้าหัวไม่ส่าย หางก็ไม่กระดิก จึงเชื่อว่า พยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่มีน่าจะสาวไปถึง แต่จะเพียงพอให้ได้รับบทลงโทษแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ขณะนี้ก็เพียงพอให้ดำเนินการในชั้นสอบสวนแล้ว

แต่ถึงจะมีวิธีการที่พยายามหลบหลีกอย่างไรนายพิศิษฐ์ ก็มองว่า การทุจริตในปัจจุบันก็ไม่ได้ง่ายเหมือนสมัยก่อน เนื่องจากมีโซเชียลที่เป็นหูเป็นตา และมีหน่วยงานที่เข้ามาทำงานตรวจสอบเชิงรุก สะท้อนให้เห็นจาก การจับกุมผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีให้เห็นเยอะขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่า ส่วนใหญ่เมื่อถูกดำเนินคดีแล้ว พอคดีไปสู่ชั้นศาลแล้ว ก็ยอมสารภาพ สุดท้ายศาลตัดสินรอลงอาญา และถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเท่านั้นจึงทำให้ผู้ทำความผิดไม่กลัว

ฃนอกจากนี้นายพิศิษฐ์ ยังระบุถึงแนวทางป้องกันการทุจริตฮั้วประมูลในอนาคตว่า ต้องเพิ่มบทบาทให้กับองค์กรตรวจสอบ ในการทำหน้าที่เชิงรุกเหมือนเดิม เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เข้าไปตรวจสอบตั้งแต่หน่วยงานเริ่มโครงการ การกำหนด TOR การกำหนดราคากลาง และกระบวรนการจัดหาว่า เป็นไปอย่างบริสุทธิ์หรือไม่ หากป้องกันตั้งแต่เริ่มต้นได้ ก็สามารถยับยั้งความเสียหายได้ด้วย

ราคาทองวันนี้ เปิดตลาดปรับขึ้นพรวดเดียว 350 บาท

เปิดความหมาย! เสียงหลอนสุดสยอง… “ธี่หยด” แปลว่าอะไร?

วันหยุดพฤศจิกายน 2566 เช็กปฏิทินวันหยุดราชการ-วันสำคัญ

By admin