เหลืออีกไม่กี่วันก็จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยวาระการสำคัญในการประชุมดังกล่าว เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาฯ ขณะที่การเจรจาระหว่างพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยเรื่องตำแหน่งประธานสภาฯ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่เป็นทางการ

จนหลายคนเกิดคำถามว่าเหตุใดพรรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยถึงไม่มีใครยอมใคร เกี่ยวกับตำแหน่งประธานสภาฯ ทั้งนี้เมื่อพลิกดูอำนาจหน้าที่ของประธานสภาฯ ก็จะพบคำตอบว่าประธานสภาฯไม่ได้มีหน้าที่ควบคุมการประชุมเพียงอย่างเดียวคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

ย้อนรอย“ดีลรัก” เพื่อไทย-ก้าวไกล กับอุปสรรค “ประธานสภา”

 ประธานสภามีไว้ทำอะไร- เหตุใดเพื่อไทย-ก้าวไกล ต้องแย่งชิง

เพื่อไทย-ก้าวไกล ฝ่าดราม่า หารือวางแผนงานบริหาร แฟนคลับแห่ให้กำลังใจ

เปิดขั้นตอน การลงคะแนนแบบลับ โหวตเลือกประธานสภา 2566

โดยอำนาจหน้าที่และภารกิจของประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งแล้วประธานสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจหน้าที่หลายประการสรุปได้ ดังนี้

อำนาจหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด อาทิ

– ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี / ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร / และเป็นผู้นำชื่อกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ในกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี

– ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้น เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง

– เป็นผู้ส่งเรื่อง ส่งความเห็น เสนอเรื่องพร้อมความเห็นและส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ในหลายกรณี อาทิ ส่งความเห็นกรณี ส.ส.เห็นว่าสมาชิกภาพของ ส.ส. / ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลง หรือส่งร่างพระราชบัญญัติที่ ส.ส.เห็นว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ หรือ กรณี ส.ส. เข้าชื่อเสนอในกรณีที่หนังสือสัญญามีปัญหา ไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย เป็นต้น

– เป็นกรรมการในคณะกรรมการสรรหาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ ทั้ง การสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ การสรรหากรรมการการเลือกตั้ง มการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน การสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

อำนาจหน้าที่อื่น อาทิ

– ดำเนินกิจการของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

– จัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคนและเปิดเผยบันทึกดังกล่าวไว้ในที่ที่ประชาชนอาจเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่กรณีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ

– สั่งให้ปล่อย ส.ส.ผู้ถูกจับขณะกระทำความผิดในระหว่างสมัยประชุม หรือ ร้องขอให้ปล่อย ส.ส.ผู้ซึ่งถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาอยู่ก่อนสมัยประชุม เมื่อถึงสมัยประชุม

– สั่งให้ระงับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรแก้ไขเพิ่มเติมจนมีผลทำให้มีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้ก่อน แล้วจัดให้มีการประชุมร่วมกันเพื่อวินิจฉัย

– วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่จะให้สภาพิจารณามีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ

– บรรจุระเบียบวารกระทู้ถามทั่วไปและกระทู้ถามสดที่สมาชิกตั้งถามรัฐมนตรีในวันที่มีการประชุมนั้นเข้าวาระการประชุม

– ร่วมปรึกษากับนายกรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชน

– รับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนและข้อหารือของ ส.ส. ซึ่งนำเอาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่มาหารือต่อที่ประชุมสภา แล้วพิจารณาให้ความช่วยเหลือหรือส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

– เป็นรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คนที่ 1 ตามพระราชบัญญัติ การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560

อำนาจหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาทิ

-เป็นประธานของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

-ควบคุมและดำเนินกิจการของสภาผู้แทนราษฎร

-รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรตลอดถึงบริเวณสภา

-เป็นผู้แทนสภาผู้แทนราษฎรในกิจการภายนอก

-แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภาผู้แทนราษฎร

-อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

By admin